ศาลรัสเซีย ได้เผยแพร่คำตัดสินให้ Meta โดยเฉพาะภาคส่วน Facebook – Instagram มีความผิดฐานดำเนินการกิจกรรมในฐานะกลุ่มหัวรุนแรง เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา ศาลรัสเซีย ประจำเมืองมอสโคว ได้ประกาศถึงคำตัดสินให้บริษัท Meta โดยเฉพาะอย่างภาคส่วนของแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram มีความผิดในฐานดำเนินการกิจกรรมในฐานะกลุ่มหัวรุนแรง (extremist activity) ซึ่งทั้งนี้คำตัดสินดังกล่าวจะไม่มีผลต่อบริการ WhatsApp แต่อย่างใด
โดยทาง Meta ไม่ได้มีการแสดงความเห็นแต่อย่างใด
ภายหลังจากที่ศาลพื้นที่เขต Tverskoi ประจำเมืองมอสโคว ได้แถลงการถึงคำตัดสินดังกล่าวที่ได้รับการยื่นฟ้องจากอัยการภาครัฐ เพื่อให้มีผลต่อการดำเนินการระงับการดำเนินกิจกรรมภายในพื้นที่ของประเทศรัสเซีย
อ้างอิงจากการรายงานของสำนักข่าว Interfax ที่ได้รายงานว่า Victoria Shakina ทนายประจำบริษัท Meta นั้น ได้กล่าวกับศาลไปก่อนหน้านี้ว่า บริษัทนั้นไม่ได้มีการดำเนินกิจกรรมตามที่ได้กล่าวหา และไม่ได้มีการส่งเสริมการเหยียดชาวรัสเซีย (Russophobia) ด้วย
สำนักข่าวรัสเซีย TASS ได้รายงานว่า Olga Solopova ผู้พิพากษาประจำศาลดังกล่าว ได้ตัดสินให้คำสั่งพิพากษานี้มีผลโดยทันที ซึ่งก็ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าทาง Meta นั้นจะดำเนินการอุธรณ์หรือไม่
ในส่วนของ WhatsApp นั้น ศาลได้มีการละเว้นโทษให้ เนื่องจากว่า “แพลตฟอร์มนั้นขาดความสามารถในการดำเนินการสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลแบบสาธารณะ”
โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นความพยายามแก้เผ็ดล่าสุดของ “รัสเซีย” ภายหลังจากที่ทาง Facebook และ Instagram นั้น เปิดให้ผู้ใช้งานภายในประเทศยูเครนที่ถูกรุกรานโดยประเทศรัสเซีย สามารถที่จะโพสต์ข้อความที่กระตุ้นให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกองกำลังทหาร, หน่วยปฏิบัติการ และประธานาธิบดีรัสเซีย – วลาดิเมียร์ ปูติน ได้
Microsoft ได้ทำการย้ำเตือนอีกครั้งถึงการปิดให้บริการเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer ภายในเดือนมิถุนายนนี้ และแนะนำให้หันไปใช้งาน Microsoft Edge แทน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการประกาศย้ำเตือนจากทาง Microsoft ถึงการเตรียมปลดเกษียณของบริการเว็บบราวเซอร์ที่อยู่กับเรามาอย่างยาวนาน – Internet Explorer (IE) ภายในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งบริษัทได้ทำการแนะนำให้ผู้ใช้งานเริ่มหันไปใช้ Microsoft Edge แทน
ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะปลดเกษียณไปแล้วนั้น Microsoft จะยังคงให้การสนับสนุนเว็บไซต์เว็บไซต์ และแอปพลิเคชั่นที่มีฐานการใช้งานบนเว็บบราวเซอร์รุ่นเก่าบน Edge ด้วยโหมดการใช้งาน IE mode ผ่านการเปิดการใช้งานผ่านทาง edge://settings/defaultbrowser และอนุญาตความสามารถในการเปิดใช้งานแบบ IE – ‘Allow sites to be reloaded in Internet Explorer‘ จากนั้นทำการเปิดใช้งาน Edge ใหม่อีกครั้ง
ในส่วนของวันเกษียณอย่างเป็นทางการ และโดยละเอียดนั้น ก็เป็นภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถ้าหากมีการเปิดใช้งานลิงค์หรือระบบไหนที่มีความเชื่อมโยงกับ IE มันจะถูกเปลี่ยนไปเปิดบน Microsoft Edge แบบอัตโนมัติ
Netflix เผยสถิติปุ่ม Skip Intro โดยมีผู้ใช้งานแล้ว 136 ล้านครั้ง
Netflix ทำการเปิดเผยสถิติการใช้งานของปุ่ม Skip Intro โดยพบว่ามีผู้ใช้งานไปแล้วถึง 136 ล้านครั้ง ทำให้ประหยัดเวลาไปได้ถึง 195 ปี (21 มี.ค. 2565) Netflix ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อบันเทิงออนไลน์ชื่อดัง ได้ทำการเปิดเผยถึงสถิติการใช้งานของปุ่ม Skip Intro ที่มีอายุการใช้งานมาแล้วถึง 5 ปีด้วยกัน โดยพบว่ามีผู้ใช้งานปุ่มนี้ไปแล้วถึง 136 ล้านครั้ง ซึ่งก็ช่วยประหยัดเวลาในการรับชมซีรีส์ – ภาพยนต์ที่ต้องการรวมไปได้ 195 ปี
นอกเหนือจากสถิติแล้วนั้น Netflix ยังได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของปุ่ม (ความสามารถ) ดังกล่าวด้วย โดยมันมีต้นแบบมาจากปุ่มถอยหลัง และข้ามที่ใช้เวลาเพียงแค่ 10 วินาที ที่อย่างหลังนั้นดูจะไม่มีประโยชน์อะไรมากนอกจากเพื่อข้ามฉากนำ หรือฉากเปิดเรื่องเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้แก้ปัญหาเลยทีเดียวเนื่องจากมันยากที่จะกะเวลาข้ามให้ตรงกับฉากที่ไม่น่าสนใจ (ในการดูอีกครั้ง) เหล่านั้น
ทำให้ Cameron Johnson หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของ Netflix ผู้ซึ่งประสบปัญหาเดียวกัน (ในระหว่างการรับชมซีรีส์ Game of Thrones) ก็ได้เสนอความคิดในการพัฒนาปุ่มดังกล่าวขึ้นมา ประกอบกับการเก็บข้อมูลสถิติการรับชมของผู้ใช้งานเพื่อนำมาใช้พัฒนา พบว่า 15% ของการเลื่อนฉากนำนั้น มักจะอยู่ที่ 5 นาทีแรก ซึ่งก็อนุมานได้ว่าผู้คนต้องการที่จะข้ามเพลงเปิดเป็นจำนวนมาก (และเช่นกัน)
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ปุ่ม Skip Intro ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้ง่ายที่สุด ซึ่งจะแสดงออกมาให้เรากดเฉพาะช่วงที่ประกอบขึ้นมาเท่านั้น และเมื่อเรากดแล้วก็จะเข้าสู่เนื้อเรื่องได้ในทันที
อีกทั้งกว่าที่จะมาเป็น Skip Intro นั้น ก็ได้มีการเสนอใช้งานชื่อต่าง ๆ มามากมาย เช่น Jump Past Credits,’ ‘Skip Credits,’ ‘Jump Ahead,’ ‘Skip Intro’ และ ‘Skip ที่ซึ่งต้องมีการทดสอบกับผู้ใช้งานภายในซีรีส์บางเรื่อง และบางประเทศดูว่า ผู้ใช้งานจะเลือกใช้งานคำไหนมากกว่ากัน เรียกได้ว่าเป็น Quality of Life Features ที่ประสบความสำเร็จ และได้รับความชื่นชอบเป็นอย่างมากก็ว่าได้ รวมถึงตอบโจทย์กับบรรดาผู้รับชมซีรีส์ที่ไม่ต้องการฟังเพลงเปิดแบบซ้ำไปซ้ำมาตลอด 1 ซีซั่น (หรือมากกว่านั้น)
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง